5 วิธีจัดการชีวิต เมื่อหยุดทำงานแล้วรู้สึกผิด คิดเปลี่ยนปรับรับความสุขที่ใฝ่หา

by kanlongthun
หยุดทำงาน

ในยุคที่ทุกคนต่างต้องการก้าวไปถึงเส้นชัยแห่งความสำเร็จกันอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่รุนแรง จึงมาพร้อมกับอัตราเร่งในการทำงานให้หนัก เก็บเงินให้เยอะ จนบางครั้งก็ละเลยปัญหาที่จะมาพร้อมกับการไม่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพ และครอบครัว ซึ่งอาจจะกลายเป็นต้นเหตุสร้างความล้มเหลวให้กับชีวิต แทนที่จะประสบความสำเร็จอย่างที่หลาย ๆ คนมุ่งหวัง ความรู้สึกผิด เมื่อหยุด ทำงาน เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่มนุษย์เงินเดือนหลายคนติดหล่ม จมกับความรู้สึกที่หยุดอยู่นิ่งไม่ได้ เพราะกลัวจะไม่ก้าวหน้า สำเร็จช้า ไม่ทันคนอื่น จะหลุดพ้นจากหลุมพลางนี้ได้อย่างไร 

มาค้นหาคำตอบเมื่อเกิดความรู้สึกผิดหากหยุดทำงาน ที่ใช่ และใช้ได้จริงไปด้วยกัน

1. หาเหตุผลต้นทางที่ทำให้เกิดความรู้สึกผิด เมื่อหยุดทำงาน 

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจว่า หยุด ทำงานเมื่อไหร่ จะมีความรู้สึกผิดทันที การหลีกหนีปมในใจนี้ คงต้องมาเร่งหาสาเหตุกันดูก่อนว่า อะไรคือต้นทางที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นแผลในใจเหล่านี้เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถติดตามได้ว่าจุดที่ทำให้คิดแบบนี้ มีผลมาจากอะไร และการจะยับยั้งความคิดลบ ๆ ที่ฝังลึกในจิตใต้สำนึกนี้ จะต้องหาวิธีบริหารจัดการ หรือดูแลเยียวยาตัวเองอย่างไร เพื่อไม่ให้รุนแรงไปกว่าเดิม 

2. งานยุ่งมากแค่ไหน ก็ต้องไม่ลืมใส่ใจดูแลตัวเอง

เพราะงานเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของชีวิตเท่านั้น ความสำเร็จที่มาจากการได้เลื่อนตำแหน่งใหม่ เงินเดือนเพิ่มขึ้น หรือชื่อเสียงที่พ่วงมาด้วย ก็เป็นเพียงความสุขแค่ชั่วครั้งชั่วคราวที่ได้รับ นานไปก็กลายเป็นสิ่งเดิม ๆ ที่ไม่ได้พิเศษอะไรมากมาย สิ่งที่สำคัญและต้องใส่ใจไม่แพ้กัน ก็คือ สุขภาพและจิตใจของตัวเราเอง ที่ไม่อาจจะแบกรับความเครียด การโหมงานหนัก ซึ่งทั้งเหนื่อยกาย และเหนื่อยใจไปได้ตลอด การให้เวลากับตัวเองได้พัก ได้ทำในสิ่งที่รักบ้าง ก็ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอม หรือไม่ควรทำ 

3. วางแผนจัดการสิ่งที่ต้องทำ เพื่อสร้างสมดุลให้ชีวิต

งานเป็นสิ่งที่เหมาะกับทำในที่ทำงาน ซึ่งควรบริหารจัดการให้เสร็จสิ้น ไม่ควรนำกลับมาทำต่อที่บ้าน หรือช่วงเวลาอื่น ๆ ของชีวิต การจัดลำดับความสำคัญ และดำเนินการให้สำเร็จตามระยะเวลากำหนด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในส่วนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว คนรัก การพักผ่อน จึงเป็นสิ่งที่จะคอยรักษาและสร้างสมดุลให้กับชีวิต เพื่อเติมเต็มความสุขในทุกช่วงเวลา 

4. โฟกัสกับสิ่งที่มีคุณค่า มากกว่าจะยุ่งไปซะทุกเรื่อง

การทำตัวยุ่ง เพราะต้องการเข้าไปเกี่ยวข้องในทุกเรื่อง อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดี และเป็นประโยชน์กับชีวิต โดยเฉพาะในระยะยาว ที่ร่างกายพละกำลังอาจจะไม่พร้อมที่จะลุย หักโหม จนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน การโฟกัสในสิ่งที่มีคุณค่า และส่งเสริมเป้าหมายความสำเร็จในชีวิตจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากกว่า นอกจากนั้นยังช่วยให้มีเวลาเหลือเพียงพอที่จะได้ทดลองทำเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง เพื่อรองรับโอกาสใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาในชีวิต 

5. ทำงานหนัก ไม่ใช่หนทางของความก้าวหน้า การบริหารจัดการมากกว่าคือสิ่งที่สำคัญ 

การทำงานหามรุ่ง หามค่ำ เพื่อโชว์ศักยภาพและความสามารถของตัวเองให้คนอื่นได้เห็น อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีอย่างที่หลาย ๆ คนคิด เพราะการใช้ความคิด พัฒนาไอเดียสร้างสรรค์ จำเป็นต้องมาจากร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งมีที่มาจากการได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ มีการออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ การทุ่มเทแบบสุดตัวเพื่อใช้ชีวิตทั้งหมดที่มีอุทิตให้กับงาน ซึ่งอาจจะสร้างผลตอบแทนได้น้อยกว่าสิ่งที่คาดหวัง การบริหารจัดการ แยกแยะสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ และดำเนินการอย่างเป็นระบบ จะมีคุณค่ามากกว่า 

ความรู้สึกผิด เมื่อหยุดทำงาน อาจจะเป็นแผลหรือปมในใจ แต่เราก็สามารถดูแลแก้ไขและเยียวยาให้ค่อย ๆ ฟื้นกลับคืนมาได้ เพียงแค่หยุดทบทวน และให้ความสำคัญกับเรื่องอื่น ๆ ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตเพิ่มขึ้น โดยการบริหารจัดการ จัดลำดับความสำคัญ และจัดสรรเวลาใน 24 ชั่วโมงอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างสมดุลให้กับชีวิต ที่มีทั้งการทำงาน การใช้เวลากับสิ่งที่ตัวเองรัก ครอบครัว รวมไปถึงการพักผ่อน หากคิดปรับเปลี่ยนในแบบนี้ได้ ชีวิตก็จะมีความสุขมากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม: เสียใจในภายหลัง

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment