สรุปมาให้  4 ช่วง Investment Clock ที่นักลงทุนควรรู้ จะได้ลงทุนได้ถูกที่ถูกเวลา 

by kanlongthun
Investment Clock

ในวงจรเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมาจะมีการสลับซับเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นลงเป็นรอบ ๆ ซึ่งในแต่ละช่วงเวลา ก็จะมีสินทรัพย์บางประเภทที่จะทำกำไรได้อย่างงดงาม และก็มีสินทรัพย์อีกบางประเภทที่จะเสี่ยงจะขาดทุนได้เช่นเดียวกัน หลักการ Investment Clock ที่มีการนำมาพูดถึง ซึ่งเป็นการแนะนำสินทรัพย์ที่เหมาะสมต่อการเลือกลงทุนในช่วงสภาพเศรษฐกิจที่มีสภาพแตกต่างกันออกไป โดยนักลงทุนที่สนใจมองหาแนวทางการกระจายความเสี่ยง และการปรับเปลี่ยนทิศทางให้เกิดความเหมาะสม บริหารพอร์ตการลงทุนให้เป็นบวกได้เสมอ เพื่อพิชิตเป้าหมายทางการเงินให้สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว และยั่งยืน

มาติดตามบทสรุปกันดีกว่าว่า Investment Clock 4 ช่วงเวลาของเศรษฐกิจ ในแต่ละช่วงควรเลือกลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด และการดำเนินการอย่างไรที่เหมาะสมที่สุด 

1. Reflation Phase 

ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอย อ่อนแอจากปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้า ทำให้ผู้บริโภคมีรายได้ที่ลดลง ความต้องการสินค้าและบริการต่าง ๆ ก็ทยอยลดลงตามไปด้วย อัตราเงินเฟ้อก็อยู่ในระดับที่ต่ำ มีการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นให้เกิดการกู้ยืมเงินนำมาลงทุนใช้จ่าย ทำให้ระบบเศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียน แต่ด้วยความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจยังไม่มี สภาวะเช่นนี้ สินทรัพย์ที่มีความเหมาะสมต่อการถือครอง และมีความปลอดภัย ช่วยกระจายความเสี่ยง ก็คือ ตราสารหนี้ โดยเฉพาะตราสารที่ออกโดยรัฐ ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจ่ายคืนจะไม่สูงมากนัก แต่ก็ยังพอที่จะทำกำไรได้ 

2. Recovery Phase 

หลังจากที่ปัญหาต่าง ๆ เริ่มคลี่คลายบรรเทาลง ความต้องการในการบริโภค จับจ่ายใช้สอย การซื้อหาวัตถุดิบในการผลิต การประกอบสัมมาอาชีพต่าง ๆ ก็ทยอยฟื้นตัวดีขึ้น เงินไหลกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ภายใต้การกระตุ้นของภาครัฐ และการสนับสนุนของภาคเอกชน ทำให้เกิดการลงทุน การทำประกอบธุรกิจต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จากอัตราความต้องการสินค้าและบริการที่หลากหลาย สินทรัพย์ที่เหมาะสมต่อการปรับเปลี่ยนทยอยเข้าซื้อในช่วงนี้ก็คือ หุ้นในกลุ่มที่กำลังมีการเติบโตตามเทรนด์ และหุ้นวัฏจักรที่สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ณ ห้วงเวลานั้น ๆ ซึ่งนักลงทุนควรศึกษาแนวโน้มก่อนตัดสินใจลงทุน 

3. Overheat Phase

เมื่อธุรกิจต่าง ๆ สามารถฝ่าวิกฤติอยู่รอดมาได้ และพยุงตัวเองให้สามารถฟื้นตัวมาได้สักระยะหนึ่ง ช่วงนี้สภาพการแข่งขันในธุรกิจจะเริ่มมีความรุนแรง ตามสภาพความต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อมากขึ้น จากระบบเศรษฐกิจที่ค่อยปรับตัวดีขึ้น สภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าต่าง ๆ จะค่อยขยับปรับราคาสูงขึ้น จากต้นทุนวัตถุดิบการผลิตที่มีราคาแพง หุ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค จึงมีความน่าสนใจที่จะเข้าไปลงทุน เพราะเป็นสิ่งของจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องการซื้อหา และมีทิศทางการเติบโตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 

4. Stagflation Phase

เมื่อวนมาครบวงจรเศรษฐกิจ ก็จะทยอยเข้าสู่สภาวะที่สินค้าต่าง ๆ ราคาปรับตัวสูงขึ้น จนทำให้ผู้บริโภคซึ่งยังมีคงรายได้เท่าเดิม สามารถซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เหล่านั้นได้จำนวนน้อยลง ดัชนี GDP ไม่สูง ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าต่าง ๆ ทยอยปรับจำนวนลดลง จากความต้องการที่ลดระดับลง จากศักยภาพเม็ดเงินในมือของลูกค้าที่มีอยู่จำกัด ทำให้ผลประกอบการที่เคยเฟื่องฟูของภาคธุรกิจก็ปรับตัวลดลงด้วย สินทรัพย์อย่างหุ้นประเภทต่าง ๆ จึงอาจจะไม่ใช่คำตอบสำหรับการลงทุนในช่วงนี้อีกต่อไป การเก็บสำรองเงินสดไว้ จึงเป็นทางเลือกที่มีความเหมาะสมมากกว่า 

หากนักลงทุนมีความเข้าใจสภาพความเปลี่ยนแปลงทิศทางแนวโน้มของวงจรเศรษฐกิจในช่วงเวลาผ่าน Investment Clock ก็จะทำให้สามารถนำมาวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจในวงรอบนั้น ๆ ได้ว่าอยู่ในช่วงไหนที่จะทำให้สามารถตัดสินใจเลือกสินทรัพย์ในการลงทุนได้อย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สูงกว่าระดับที่ตัวเองจะรับได้ ทำสามารถบริหารพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เงินเติบโต สู่เป้าหมายที่ตัวเองตั้งใจ

อ่านเพิ่มเติม: ขจัดหนี้ครัวเรือน

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment