แนะ 3 ขั้นตอนวางแผนการลงทุนอย่างไรให้ประหยัดภาษี

by kanlongthun
วางแผนการลงทุน

มนุษย์เงินเดือนซึ่งมีรายได้พึงประเมินทุกคน มีหน้าที่ในการยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเป็นประจำในทุกช่วงต้นปี  สำหรับผู้มีรายได้สูงเข้าเกณฑ์จึงจำเป็นต้องจ่ายภาษี โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร หนึ่งในวิธีที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ ก็คือ การลงทุน ซึ่งนอกจากเหล่าพนักงาน มนุษย์เงินเดือนจะได้รับผลประโยชน์จากวางแผนการลงทุนแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหยัดภาษีได้อีกด้วย

จะมีขั้นตอน และวิธีการวางแผนการลงทุนอย่างไรบ้าง มาติดตามไปพร้อม ๆ กัน 

1. เริ่มต้นจากประเมินรายได้ประจำปี เพื่อคำนวณหาฐานภาษีที่ต้องจ่าย

ก่อนจะวางแผน การลงทุนนั้น สิ่งที่ต้องทราบก่อนเป็นอันดับแรกคือ การประเมินรายได้สุทธิของแต่ละบุคคลก่อน โดยมีสูตรคำนวณคือ (รายได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่ายส่วนตัว) – ค่าลดหย่อนภาษี = รายได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษี  โดยค่าลดหย่อนภาษี จะมีด้วยกันหลากหลายประเภท ทั้งค่าเลี้ยงดูบุพการี พ่อแม่ ค่าเลี้ยงดูบุตร รวมไปถึงการอุปการะดูแลผู้ป่วยที่พิการ หรือทุพพลภาพไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ นอกจากนั้นยังมีประเภทค่าใช้จ่ายที่เป็นสินเชื่อซื้อบ้าน ค่าเบี้ยประกันชีวิต และการลงทุนประเภทต่างๆ โดยขั้นตอนนี้หากมียอดค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเบื้องต้นเพียงพอที่จะทำให้ฐานภาษีไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี ก็ไม่จำเป็นต้องหาเครื่องมือการลงทุนอื่นๆมาช่วย

2. เลือกเครื่องมือในการช่วยลดภาษี

มาถึงขั้นตอนที่ 2 หากผู้ที่คำนวณรายได้พึงประเมินซึ่งมีฐานภาษีอยู่ในระดับที่ต้องจ่ายภาษี ก็จำเป็นต้องมีตัวช่วยอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้จ่ายภาษีน้อยลง โดยเฉพาะด้านการลงทุนผ่านเครื่องมือต่างๆ ทั้งการทำประกันชีวิต ซึ่งเป็นตัวช่วยกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท นอกจากนั้นยังมีการลงทุนในกองทุน LTF ซึ่งเป็นการลงทุนในกองทุนรวมระยะยาว โดยต้องถือกองทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทินติดต่อกัน รวมไปถึงการลงทุนผ่านกองทุนรวมอีกหนึ่งประเภท คือ RMF ซึ่งเป็นการออมเงินเพื่อไว้ใช้จ่ายในช่วงเกษียณ โดยสามารถนำมาลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15 % ของรายได้ และยอดรวมไม่เกิน 500, 000 บาท ทั้ง LTF และ RMF  

3. วางแผน การลงทุนด้วยวงเงินที่เหมาะสม  

เมื่อเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมได้แล้ว ก็ต้องมาประเมินค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ ที่จะนำไปลดหย่อนได้นั้นสามารถลดหย่อนได้เท่าไหร่ คุ้มค่าที่จะนำเงินมาลงทุนหรือไม่ หากการจ่ายเงินไปกับการลงทุนประเภทต่างๆ สูงกว่าการจ่ายภาษี ก็อาจจะไม่คุ้มค่าที่จะต้องมาจ่ายเงิน 2 ต่อ เพื่อหวังลดหย่อนภาษี แต่หากคำนวณอย่างถี่ถ้วนแล้วว่า สามารถลดจำนวนภาษีที่จำเป็นต้องจ่ายไปได้จำนวนมาก และยังได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนอีกทอด ก็คุ้มค่าที่จะยอมทุ่มเทเงินให้กับการลงทุน โดยควรวางแผนให้สอดคล้องต่อรายรับ ไม่สูงเกินจนไม่สามารถจ่ายไหม และไม่ต่ำจนเกินไป จนไม่สามารถสร้างความคุ้มค่าในการลดหย่อนภาษีได้ 

การวางแผน การลงทุน มีรายละเอียดและขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาในการศึกษา และเปรียบเทียบอย่างถี่ถ้วน เพราะเกี่ยวข้องไปยังส่วนต่างๆ ทั้งรายได้ที่ต้องนำมาจ่าย และผูกพันไปถึงการนำยอดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ไปใช้ในการลดหย่อนภาษี ซึ่งเหล่ามนุษย์เงินเดือนอาจจะหลงผิด ทำให้รายจ่ายยิ่งพอกพูนขึ้นจากเดิมได้ ทางที่ดีหากไม่มีความเชี่ยวชาญ ควรปรึกษานักวางแผนการเงิน หรือผู้ที่มีประสบการณ์เฉพาะด้านจะดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม: การตลาดออนไลน์ 2022 กับเทรนด์การตลาดที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดช่วงโควิด

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment