
“ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน” เป็นวลีที่ยังใช้ได้ดีเสมอ เนื่องจากสภาวะตลาดทุนมีความผันผวนแปรปรวนไปตามปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะทางการเมือง เศรษฐกิจ การเกิดวิกฤติ และปัญหาระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลกระทบเชื่อมโยงกัน การลงทุนจึงต้องอาศัยสินทรัพย์ที่หลากหลาย ที่ไม่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการเฉลี่ยสร้างสมดุลในรูปแบบพอร์ตฟอลิโอ ซึ่งนักลงทุนที่ดีควรมีการทำ Portfolio Rebalancing ตามช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการตรวจสอบสัดส่วนการลงทุน เพื่อให้ระดับความเสี่ยงไม่สูงจนเกินไป ซึ่งนักลงทุนหลายท่าน โดยเฉพาะมือใหม่ หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มลงทุนได้ไม่ได้ อาจจะยังไม่เข้าใจ การทำ Portfolio Rebalancing มากพอ
เราจึงอยากชวนมาเรียนรู้ และนำเทคนิคปรับพอร์ทการลงทุนเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้การลงทุนเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
1. การพอร์ทการลงทุนแบบ Portfolio Rebalancing คืออะไร
ในการลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์นั้น นักลงทุนมักจะเลือกซื้อสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เพื่อนำมารวมไว้เป็น Portfolio ไม่ว่าเป็นหุ้น กองทุนรวม ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ ซึ่งแต่ละประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อก็จะมีระดับความเสี่ยงและความผันผวนที่แตกต่างกัน ดังนั้น การทำ Portfolio Rebalancing ซึ่งเป็นการปรับสัดส่วนสินทรัพย์แต่ละประเภทที่ได้มีการลงทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อกระจายความเสี่ยง และช่วยสร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามเป้าหมาย จึงเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนไม่ต้องกังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมากจนเกินไป
2. เหตุผลและความจำเป็นที่ควรทำ Portfolio Rebalancing อย่างสม่ำเสมอ
ด้วยวงจรเศรษฐกิจที่มีการหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไปเป็นวงรอบ ทั้งขาขึ้น และขาลง การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกัน มีทั้งช่วงเวลาที่สามารถทำกำไรได้เป็นอย่างดี กับช่วงเวลาที่ทรงตัว หรือกลายเป็นขาดทุน ดังนั้น การพิจารณาสถานการณ์แวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนให้มีความเหมาะสม หรือการทำ Portfolio Rebalancing อย่างสม่ำเสมอ จึงมีความจำเป็นที่จะช่วยให้เม็ดเงินที่นำไปลงทุนยังสร้างผลกำไรตามโจทย์หรือเป้าหมายที่วางไว้ และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะสูญเงินไปเป็นจำนวนมาก
3. ปัจจัยที่ทำให้การทำ Portfolio Rebalancing ช่วยกระจายความเสี่ยงได้
เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้บางช่วงเวลาสินทรัพย์ประเภทนึงอาจจะขยับตัวเติบโตไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะการถึงครองสัดส่วนนี้เป็นจำนวนมาก เมื่อราคาตกลงมา ก็จะทำให้เกิดการขาดทุนสูงกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ได้เช่นเดียวกัน ในขณะที่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ กลับทรงตัว ไม่เติบโต ทำให้สัดส่วนสินทรัพย์ชนิดนี้ ห่างจากอีกประเภทมาก จึงไม่อาจจะช่วยพยุงพอร์ตการลงทุน รักษาเงินไว้ได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ การทำ Portfolio Rebalancing จะมีส่วนช่วยในการสร้างสมดุล และกระจายความเสี่ยงแก่นักลงทุนได้
4. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทำ Portfolio Rebalancing
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าแล้วควรทำปรับพอร์ทการลงทุน Portfolio Rebalancing ในช่วงเวลาใดนั้น สามารถเลือกปรับสัดส่วนได้ ทั้งตามเวลาที่ตัวเองกำหนดไว้ เช่น ทุก ๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี หรืออาจจะเลือกปรับเปลี่ยนเมื่อสัดส่วนสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไปมีสัดส่วนที่แตกต่างกันมากขึ้น เพื่อให้ระดับความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงและต่ำ อยู่ในระดับที่สมดุล หรืออาจจะปรับตามเป้าหมาย หากพอร์ตมีกำไรถึงจุดที่เหมาะสม ก็อาจจะแบ่งขายบางส่วน เพื่อสร้างกระแสเงินสดกลับมา หรือนำไปต่อยอดการลงทุนอย่างอื่นเพิ่มเติม
5. วิธีในการทำ Portfolio Rebalancing
สำหรับนักลงทุนมือใหม่ หรือเพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นานที่ต้องการทำ Portfolio Rebalancing สามารถใช้ 2 วิธีนี้ได้ อย่างแรกก็คือ การขายสินทรัพย์ส่วนเกินออกไป เพื่อนำเงินที่ได้นั้นไปซื้อสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงเข้ามาเติมสัดส่วนให้พอร์ตมีความสมดุล หรือการนำเงินออมมาซื้อสินทรัพย์ในกระเภทที่น่าลงทุนและยังมีสัดส่วนน้อย เข้ามาเพิ่มเติมในพอร์ต ซึ่งจะช่วยเสริมสัดส่วนการลงทุนให้เกิดความเหมาะสม
การทำ Portfolio Rebalancing เป็นสิ่งเป็นต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการลงทุน ช่วยกระจายความเสี่ยง และสนับสนุนในการสร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งผู้ที่เข้าสู่สนามการลงทุนควรมีการเรียนรู้ และทำให้ความเข้าใจ รวมทั้งฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เพื่อให้สามารถบริหารพอร์ตของตัวเองได้อย่างมืออาชีพ ซึ่งจะทำให้เป้าหมายในการสร้างความมั่นคงทางการเงิน มีอิสรภาพในการใช้ชีวิตเกิดขึ้นได้
อ่านเพิ่มเติม: พรบ. PDPA