4 ประเภท Pain Point จุดเจ็บแสบที่ลูกค้ารอการแก้ไข เยียวยาได้ยอดขายมาแน่

by kanlongthun
Pain Point

ในการทำธุรกิจ ในกระบวนการดำเนินงานต่าง ๆ มักจะมีปัญหาซ่อนอยู่ ซึ่งทำให้ลูกค้าต้องหาวิธีการ หรือแนวทางที่ดีที่สุดเข้ามาจัดการ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ มักจะเรียกขานกันในวงการธุรกิจว่า “Pain Point”  หรือจุดที่สร้างความเจ็บปวด ยากลำบากให้กับลูกค้า ซึ่งหากใครที่สามารถหาเครื่องมือเข้ามาจัดการต่ออุปสรรคที่ขัดขวางความก้าวหน้าทางธุรกิจนี้ได้ แน่นอนว่าย่อมสร้างยอดขาย และสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า จนสามารถพัฒนามาเป็นแฟนพันธ์แท้ ที่พร้อมใช้บริการอย่างต่อเนื่องได้ โดยเจ้า PainPoint ที่ว่านี้ มีประเภทใดบ้าง ที่จะดึงมาใช้เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตรงใจ

มาติดตามPain Pointกันได้เลย 

1. ปัญหาที่มาจากงบประมาณการเงิน 

คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญของธุรกิจ หากมี PainPoint ที่เกี่ยวข้องกับด้านนี้ คงทำให้กิจการเกิดอาการซวนเซ หรือหยุดชะงัก ไม่สามารถเติบโตได้อย่างที่คาดหวัง โดยปัญหาส่วนใหญ่ มักเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการงบประมาณทางการเงิน อาทิ การบริหารสภาพคล่อง กระแสเงินสด ต้นทุนการผลิตที่สูง กำไรเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือแม้แต่การขาดเงินทุนในการนำไปขยายกิจการรองรับการเติบโต ซึ่งหากฝ่ายขาย ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่มีเครื่องมือในการช่วยจัดการปัญหาเหล่านี้ แน่นอนว่ามีโอกาสสร้างยอดขาย และได้ลูกค้าเพิ่มแน่นอน 

2. ปัญหาที่มาจากคน และประสิทธิภาพการทำงาน

ทรัพยากรมนุษย์ เป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนเดินหน้าไปได้ แต่หากเมื่อไหร่ คนในองค์กรมีปัญหา คนในแตกความสามัคคี มีการเมืองภายในองค์กร เจ้านายสั่งลูกน้องไม่ได้ ลูกน้องไม่ให้ความเคารพ ทำตามที่หัวหน้าแนะนำ วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา มีคนเข้าออกเรื่อย ๆ จนทำให้งานขาดช่วง PainPoint ต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมสร้างความเจ็บปวดให้กับเจ้าของธุรกิจ และยิ่งต้องรีบแก้ไข ทางออกก็คือ ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความเหมาะสม การฝึกอบรมด้านต่าง ๆ 

3. ปัญหาที่มาจากคู่แข่ง 

ในปัจจุบันธุรกิจที่มีการผูกขาด เริ่มมีน้อยลง มีคู่แข่งรายใหม่ที่ทำธุรกิจเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันเกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจที่กำลังเป็นกระแส และได้รับความนิยม ตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้บริโภค ยิ่งทำให้สงครามการแข่งขันทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น นี่จึงเป็นอีกหนึ่ง PainPoint ที่ธุรกิจไม่ว่าเล็ก หรือใหญ่ ต้องเผชิญ การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จึงต้องมีบริษัทที่เข้ามาช่วยวางกลยุทธ์ สร้างความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน เสริมศักยภาพธุรกิจให้มีความแข็งแกร่ง 

4. ปัญหาที่มาจากกระบวนการผลิต 

สำหรับธุรกิจที่มีการผลิตสินค้า PainPoint ที่ต้องเกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นได้จากกระบวนการผลิต ซึ่งอาจจะมาจากต้องอาศัยเครื่องจักรที่มีความทันสมัย มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลสอนการใช้งาน การผลิตที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร มีต้นทุนสูงกว่าคู่แข่ง คุณภาพที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งลูกค้าต้องการที่จะทำให้กระบวนการผลิตมีศักยภาพมากขึ้น 

ปัญหาหรือ PainPoint ที่สร้างความปวดหัว และปวดใจให้กับลูกค้าเหล่านี้ เป็นสิ่งที่บริษัทที่ต้องการขายสินค้า หรือบริการ ต้องเสาะแสวงหาข้อมูล เพื่อเข้าไปให้ถึง Insight หรือความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ซึ่งจะเป็นช่องทางในการสร้างข้อเสนอที่โดนใจ และสามารถปิดการขาย สร้างรายได้กลับมาสู่ธุรกิจ และยังสร้างโอกาสที่จะได้ลูกค้าระยะยาว หากสามารถช่วยลดปัญหาให้แก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความประทับใจ จนกลายเป็นลูกค้าขาประจำ

อ่านเพิ่มเติม: Social Commerce

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment