รวม 4 วิธี อัพ Skill Adversity Quotient ทักษะปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ที่คนทำงานยุคใหม่ควรมีติดตัว

by kanlongthun
Adversity Quotient

โลกยุคปัจจุบัน ต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ รุมเร้าแทบไม่เว้นวัน ผู้ที่ปฏิบัติงานในองค์กรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยพยุงองค์กรให้สามารถฝ่ามรสุมที่เลวร้ายผ่านพ้นไปได้ จึงต้องมีทักษะความฉลาดในการแก้ไขปัญหา หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Adversity Quotient  (AQ) ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทักษะที่มีความจำเป็นนอกเหนือจาก IQ และ EQ ที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันดี โดย AQ จัดเป็นสิ่งที่องค์กรยุคใหม่ มักจะนำมาใช้เป็นองค์กรในการคัดเลือกคนมาทำงานในองค์กร เพราะมองว่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจรอดพ้นจากการเป็นเหยื่อในวิกฤติต่าง ๆ ที่บางครั้งก็อาจจะตั้งรับกันไม่ทัน แต่หากมีคนกลุ่มที่มี AQ สูงมาอยู่ในองค์กร ก็จะมีส่วนช่วยในการประคับประคอง รอให้สถานการณ์ฟื้นตัวกลับคืนมาได้

ซึ่งสำหรับคนทำงานทั่วไป สามารถพัฒนา Adversity Quotient ได้ ด้วย 4 วิธีนี้ 

1. มีสติ เรียนรู้กับปัญหา

การตื่นตระหนกตกใจ อาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับเหตุการณ์ที่พนักงานแต่ละคนอาจจะไม่เคยพบเจอ แต่ผู้ที่มี AQ ดี จะต้องสามารถตั้งสติได้เร็ว พยายามทำความเข้าใจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะสร้างผลกระทบอย่างไร เราคิดและรู้สึกอย่างไรต่อปัญหา และจะรับมือต่อปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร นี่ถือเป็นสิ่งพื้นฐานที่จะเป็นการทำให้คนทำงานเกิดการเรียนรู้ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา AQ ในขั้นต่อ ๆ ไป 

2. มีส่วนร่วมต่อการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรับผิดชอบ

เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กร หรือธุรกิจ ไม่ใช่ความรับผิดชอบโดยตรงของใครคนใดคนหนึ่งที่ต้องจัดการแก้ไข แต่ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนที่ต้องมีส่วนร่วม โดยหากทุกคนมองในมุมนี้ ภายในองค์กรก็จะเกิดความสามัคคี ช่วยกันระดมไอเดียที่จะเข้ามาบริหารจัดการปัญหา รับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะกำลังเข้าสู่ขั้นวิกฤติได้อย่างรวดเร็วว่องไว ก่อนที่จะสาย 

3. วิเคราะห์ปัญหา พร้อมทั้งหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ

ด้วยหลาย ๆ ครั้งที่เกิดวิกฤติ หรือปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น มักจะเป็นสิ่งที่แต่ละคนอาจจะไม่เคยพบเจอ และมีประสบการณ์โดยตรงมาก่อน จึงอาจจะเป็นเรื่องที่ยากที่จะสามารถจัดการ หรือรับมือ และสยบปัญหานั้น ๆ ได้ว่องไวปานจรวด หรือบางครั้งปัญหานั้นก็อาจจะยาก จนผู้ที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขอาจจะถอดใจหรือล้มเลิกความตั้งใจไปซะก่อน ผู้ที่มี AQ ที่ดี จึงมักจะใช้การวิเคราะห์ต้นตอหรือสาเหตุของปัญหา พร้อมทั้งหาว่า มีช่องทางไหนบ้างที่มีความเป็นไปได้ในการบรรเทาหรือคลี่คลาย ลดระดับความรุนแรงของวิกฤตินั้น ๆ ไปก่อน  

4. ลงมือแก้ไขปัญหาด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ 

แม้คิดได้ว่าจะแก้ปัญหาต่าง ๆ นั้นอย่างไร แต่ไม่ลงมือทำ ก็เหมือนการเสียเวลาเปล่า ซึ่งแม้ว่าลงมือทำไปแล้วจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา แต่อย่างน้อยก็ทำให้ได้เรียนรู้ว่า วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผล อาจจะลองประยุกต์แนวทางเดิม แต่ใช้กลวิธีใหม่ ๆ เข้ามาปรับปรุงกระบวนการ เสริมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น ก็อาจจะทำให้สามารถจัดการกับวิกฤติหรือปัญหานั้น ๆ ได้สำเร็จก็เป็นไปได้ 

ทักษะความสามารถในการรับมือต่อปัญหา หรือ AQ เป็นทักษะรูปแบบใหม่ ที่คนทำงานยุคใหม่ ควรได้รับการเรียนรู้ และพัฒนา เพื่อให้มั่นใจว่า หากองค์กรต้องเผชิญกับวิกฤต หรือปัญหารูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม จะมีผู้ที่พร้อมจะมีส่วนร่วม คอยคิด วางแผน และลงมือทำ เพื่อให้สถานการณ์ที่กำลังย่ำแย่ ค่อย ๆ ดีขึ้น และฟื้นตัวได้ตามลำดับ สามารถรักษาองค์กร พร้อมทั้งสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง และวิกฤติความไม่แน่นอนถาโถม 

อ่านเพิ่มเติม: Music Marketing

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment