เริ่มต้นธุรกิจ กับเงินทุน 4 กองที่ต้องเตรียม เพื่อให้ธุรกิจเติบโตก้าวไกล ไม่สะดุด

by kanlongthun
เริ่มต้นธุรกิจ

เริ่มต้นธุรกิจ ความสำเร็จในการสร้างธุรกิจ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องเงิน ถือเป็นหนึ่งในพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้กิจการเริ่มต้นได้อย่างมั่นคง และเติบโตได้อย่างยั่งยืน แต่อาจจะมีผู้ตัดสินใจสร้างธุรกิจอีกจำนวนไม่น้อย ที่วางแผนการเงินผิดพลาด เพียงเพราะสำรองเงินไว้แค่ด้านการผลิตสินค้าหรือบริการเท่านั้น จนละเลยไปว่ายังต้องเตรียมเงินเผื่อไว้สำหรับการบริหารจัดการในด้านอื่น ๆ ที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอด จนก้าวไปถึงสถานะของคำว่า “สำเร็จ” ได้ ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนทำธุรกิจมีการเตรียมพร้อมด้านการเงินเป็นอย่างดี มาตรวจสอบผ่านเช็คลิสต์เหล่านี้ว่า คุณได้เตรียมเงินลงทุนไว้ครอบคลุมทุกด้านแล้วหรือยัง

เริ่มต้นธุรกิจ มาทำความเข้าใจกับเงินทุน 4 กองที่ต้องเตรียมไปพร้อมกันเลย 

1. เงินลงทุนสำหรับผลิตสินค้าและบริการ

การสร้างธุรกิจ แน่นอนว่าจะต้องมีผลิตภัณฑ์ หรือไม่ก็บริการที่จะนำมาขาย ซึ่งเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตมาจำหน่ายนั้น จะได้รับการตอบสนองที่ดีจากกลุ่มเป้าหมายในตลาด การทดลองผลิตจำหน่ายน้อย ๆ หรือทำเป็นสินค้าตัวอย่างออกมาล็อตนึงก่อน เพื่อวิจัยความต้องการ และผลตอบรับ เมื่อได้ Feedback จากทางลูกค้าแล้วจึงนำมาปรับปรุง พัฒนาสินค้าให้ดีก่อนที่จะนำมาจำหน่ายจริงจัง โดยควรเริ่มต้นสั่งในจำนวนน้อยๆ ก่อน เพื่อป้องกันการนำเงินทุนมาจมกับสต็อกสินค้า

2. เงินลงทุนสำหรับการตลาด โฆษณา ส่งเสริมการขาย

มีสินค้าและบริการแล้ว แต่ยังไม่มีคนรู้จัก ก็เป็นเรื่องยากที่จะขายได้ ดังนั้น เงินทุนอีกหนึ่งก้อนที่ต้องสำรองไว้ ก็คือ งบประมาณสำหรับการทำโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย เพื่อสร้างการรับรู้ในแบรนด์ สินค้าและบริการไปสู่กลุ่มเป้าหมาย ทำให้เกิดความต้องการ สร้างความเข้าใจ เชื่อมั่นในคุณภาพ และตัดสินใจซื้อสินค้าไปทดลองใช้ รวมไปถึงการส่งเสริมให้เกิดการซื้อซ้ำ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินมาเป็นตัวช่วยในการส่งเสริม หากต้องการให้สินค้าได้รับความนิยมในระยะเวลาอันสั้น 

3. เงินทุนสำหรับการบริหารกิจการ

ในการทำธุรกิจ มีต้นทุนต่าง ๆ ที่แฝงเป็นค่าใช้จ่ายอยู่อีกจิปาถะ ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟ ค่าน้ำ  ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าน้ำมัน เงินเดือนพนักงาน เงินเดือนตัวเอง ค่าสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งในช่วงแรกอาจจะยังมีรายได้เข้ามายังไม่สม่ำเสมอ ก็เลยจำเป็นต้องมีเงินทุนด้านการบริหารจัดการเหล่านี้ไว้เป็นทุนตั้งต้น เพื่อป้องกันไม่ให้นำเงินส่วนตัวมารวมกับกิจการ หรือการนำเงินของกิจการไปใช้จ่ายส่วนตัว ซึ่งจะทำให้ธุรกิจขาดทุน และจัดการยากยิ่งขึ้น

4. เงินทุนสำรอง เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และเพิ่มสภาพคล่อง 

เพราะไม่มีใครสามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดวิกฤติ หรือสถานการณ์อะไร ที่จะส่งผลกระทบทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก หรือถึงขั้นต้องปิดกิจการ การมีเงินทุนสำรองไว้ใช้จ่ายในช่วงฉุกเฉิน โดยควรเตรียมไว้ให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายของธุรกิจประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี จะเป็นสิ่งที่ช่วยพยุงให้กิจการยังสามารถเปิดให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะประสบปัญหาต่าง ๆ ก็ยังเอาตัวรอดไปได้อีกระยะ เพียงพอที่จะสามารถฟื้นตัวกลับมาเติบโตได้ 

ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ การวางแผนการเงิน บริหารจัดการเงินทุนในแต่ละด้านอย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ จะเป็นการปิดช่องโหว่และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะสร้างปัญหาปวดหัว ทำให้ต้องมาเสียเวลาในการคิดหาทางแก้ไข แทนที่จะได้ใช้เวลานั้นไปโฟกัสในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต การคิดและวางแผนอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสนใจเริ่มต้นเปิดกิจการ จึงเป็นสิ่งที่นักธุรกิจควรให้ความสำคัญ เพื่อทำให้กิจการที่มุ่งหวังเริ่มต้นด้วยดี และเติบโตได้อย่างงดงาม ตามที่แต่ละคนมุ่งหวัง

อ่านเพิ่มเติม: อาชีพฟรีแลนซ์

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment