แนะ 4 วิธีระดมทุนสตาร์ทอัพ หนุนธุรกิจให้ทะยานสู่ยูนิคอร์น

by kanlongthun
ระดมทุนสตาร์ทอัพ

กระแสการปั้นธุรกิจยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนในการทำเงิน หรือที่เรียกกันว่า “สตาร์ทอัพ” กำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ โดยการพัฒนาธุรกิจนั้น เป็นเรื่องปกติที่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุน ซึ่งเหล่าธุรกิจหน้าใหม่ ที่มีไอเดียแปลกใหม่ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ซึ่งสามารถระดมทุนสตาร์ทอัพได้จากช่องทางที่หลากหลาย ซึ่งการจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนในปัจจุบันนั้น นับว่าไม่ได้ยากเย็นเหมือนเช่นแต่ก่อน ในยุคที่ตลาดยังไม่ค่อยรู้จักธุรกิจประเภทนี้ สำหรับผู้ที่กำลังปั้นไอเดียธุรกิจสตาร์ทอัพ และกำลังติดปัญหาว่าจะหาทุนในการพัฒนาให้ธุรกิจในฝันนี้เกิดขึ้นเป็นจริงได้อย่างไร

มาค้นหาคำตอบระดมทุนสตาร์ทอัพที่จะเป็นแนวทางในการนำไปใช้เพื่อคว้าเงินก้อนใหญ่ ไปต่อยอดไอเดียกันได้เลย  

1. แหล่งลงทุนรายย่อย 

บุคคลใกล้ตัว อาจจะเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนในช่วงเริ่มต้นที่ดีได้ ไม่ว่าเป็นคนในครอบครัว เพื่อนฝูง หรือแม้แต่นักธุรกิจที่มีความพร้อมในทุนทรัพย์ และต้องการสนับสนุนไอเดียธุรกิจ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเติบโตและทำเงินได้มหาศาลในอนาคต หรือที่คนในวงการสตาร์ทอัพมักจะเรียกกันว่า “Angle Investor” ซึ่งนักลงทุนกลุ่มนี้ ถือเป็นสปอนเซอร์ใจดีที่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อหวังกำไรจากธุรกิจเป็นหลัก แต่ยังโฟกัสไปที่การผลักดันให้ธุรกิจสตาร์ทอัพนี้ มีพัฒนาการ เติบโต จนสามารถไปยืนหยัดเทียบเคียงบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ทั้งใน หรือต่างประเทศได้ 

2. แหล่งทุนสถาบัน 

มาถึงอีกหนึ่งช่องทางในการระดมทุนเพื่อการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ ให้ติดปีกทะยานสู่เป้าหมาย นั่นก็คือ กลุ่มองค์กร บริษัทขนาดใหญ่ ที่มีเงินทุนมั่นคง พร้อมที่จะแบ่งปันเพื่อนำมาใช้ในการปั้นธุรกิจที่องค์กรมองเห็นว่าจะสามารถสร้างรายได้ มีโอกาสเติบโต โดยเฉพาะกลุ่ม Tech Start Up ที่เข้ากับยุคสมัย ซึ่งกลุ่มนักลงทุนสถาบัน มีตั้งแต่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ชั้นนำ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ โดยมีรูปแบบหลัก ๆ ในการลงทุน ทั้งในแบบร่วมลงทุน และแบบร่วมทีมพัฒนา หรือ Venture Capital 

3. นักลงทุนกลุ่มบริษัท

ปัจจุบันในประเทศไทย มีบริษัทต่าง ๆ ที่ให้ความสนใจในธุรกิจสตาร์ทอัพเพิ่มมากขึ้น มีหน่วยงาน หรือแผนกที่รับผิดชอบในด้านนี้โดยตรง ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะนอกจากจะให้เงินสนับสนุนแล้ว ยังทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องต่อความต้องการของตลาด รวมไปถึงการช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่บริษัทสตาร์ทอัพเพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ 

4. แหล่งเงินทุนดั้งเดิม

มาถึงรูปแบบสุดท้าย ถือเป็นการระดมทุนแบบคลาสสิคที่มีมาตั้งแต่อดีต ในรูปของเงินกู้ผ่านธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ปล่อยเงินกู้ให้กับธุรกิจหน้าใหม่ ที่มีแผนธุรกิจที่น่าเชื่อถือ ทำได้จริง และมีโอกาสเติบโต มีศักยภาพในการพัฒนา นอกจากนั้นยังมีอีกส่วนที่มาจากการสนับสนุนตามโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งมุ่งส่งเสริมบริษัทสตาร์ทอัพ โดยการให้เงินสนับสนุน พร้อมทั้งนำผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาร่วมพัฒนา 

ธุรกิจสตาร์ทอัพ หากมีไอเดีย แผนธุรกิจที่แจ่มแจ๋ว มีทิศทางและโอกาสในการทำเงิน สร้างรายได้แก่ธุรกิจอย่างชัดเจน และสามารถลงมือทำได้จริง ย่อมมีโอกาสที่จะดึงดูดนักลงทุนกลุ่มต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ ให้มาร่วมลงทุน พร้อมสนับสนุนสิ่งต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจดาวรุ่งเหล่านี้ ทะยานกลายเป็นยูนิคอร์นหน้าใหม่ ที่แข็งแกร่ง ไปโชว์ศักยภาพให้ทุกคนได้รู้จัก ซึ่งไม่ใช่แค่ภายในประเทศ แต่ยังรวมไปถึงการขยายการลงทุนไปยังประเทศที่มีโอกาสในการเติบโต จนกลายเป็นบริษัทมหาชนที่มีความแข็งแกร่งได้ในอนาคต

อ่านเพิ่มเติม: ต้นทุนร้านอาหาร

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment