จัดการปัญหาในองค์กรอย่างมืออาชีพ ด้วย 5 วิธี ที่ผู้นำองค์กรควรรู้

by kanlongthun
ปัญหาในองค์กร

การทำงานร่วมกันของคนหมู่มาก เป็นปกติที่มักจะเปิดปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นในองค์กร ซึ่งผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือหัวหน้าแผนก จำเป็นต้องร่วมมือกันในการจัดการปัญหา เพื่อให้ทราบสาเหตุ หาแนวทางแก้ไข และทำให้ปัญหานั้นๆ ไม่เกิดขึ้นซ้ำซาก โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากพนักงานเป็นสำคัญ ปัญหาในองค์กรที่เกิดขึ้นจึงจะจบลงได้ด้วยดี 

โดยนี่คือ 5 วิธี ที่อยากแนะนำให้ผู้นำองค์กรได้เรียนรู้ และนำไปแก้ปัญหาในองค์กร

1. พูดคุย รับฟังอย่างตั้งใจ ไม่มีอคติ

เมื่อเกิดปัญหา ในองค์กรขึ้น สิ่งแรกที่สามารถทำได้ง่ายสุดคือ การเปิดใจพูดคุย โดยผู้นำ หรือหัวหน้า ต้องรับฟังข้อมูลอย่างตั้งใจ และต้องแยกให้ออกว่าต้นตอของปัญหามาจากอะไร เพื่อจะได้หาหนทางแก้ไขได้ตรงจุด โดยไม่ควรอคติเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะที่ตนเองมีความสนิทสนมมากกว่า เพราะหากทำเช่นนั้น แทนที่ปัญหาจะจบลงได้ง่ายๆ ก็อาจจะลุกลามบานปลาย จนยากที่จะแก้ไข 

2. เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้บอกเล่าแบบเป็นส่วนตัว

ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรส่วนใหญ่ มักจะผูกพันไปถึงพนักงานกลุ่มต่าง ๆ การเชิญแต่ละฝ่ายมาพูดคุยบอกเล่าอย่างเป็นส่วนตัว จะทำให้สามารถเปิดใจ ทำให้พนักงานเปิดเผยข้อมูลเบื้องลึกเบื้องหลังที่นำมาสู่ปัญหาที่เกิดขึ้นได้  โดยผู้นำ หรือหัวหน้า มีหน้าที่ในการรวบรวมข้อเท็จจริงจากคำบอกเล่า มาวิเคราะห์หาความเชื่อมโยง เพื่อสาวไปถึงสาเหตุ ซึ่งจะได้จัดการปัญหาเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงที 

3. ประสานความช่วยเหลือจากฝ่ายบุคคล

เนื่องจากองค์กร มีเงื่อนไขและข้อปฏิบัติที่บริษัทกำหนด การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร จึงต้องเชื่อมโยงข้อมูลไปสู่ฝ่ายบุคคล ซึ่งเป็นผู้ดูแลพนักงานโดยตรง เพื่อให้สามารถหาวิธีในการสยบปัญหาที่เกิดขึ้น ให้สอดคล้องต่อกฏเกณฑ์ ระเบียบการบริหารทรัพยากรบุคคล หรือภายใต้เงื่อนไขที่กฏหมายกำหนด เพื่อมอบความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย 

4. หาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันอย่างสันติ

การใช้ความรุนแรง หรือบทลงโทษที่หนักแน่นจนเกิดไป ก็อาจจะไม่ส่งผลดีต่อการทำงานร่วมกันในระยะยาว การร่วมคิด ร่วมคุย เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เป็นกลาง สร้างความพึงพอใจในระดับที่เหมาะสมแก่ทุกฝ่าย แม้บางปัญหาอาจจะเป็นเรื่องยาก อาจจะต้องใช้เวลาในการหารือตกลงกันหลายรอบ ก็จำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อไม่ให้ปัญหายืดยื้อรื้อรัง จนหาจุดจบไม่เจอ 

5. ตั้งเป้าหมายวางข้อตกลงเงื่อนไข ไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซาก

เมื่อจัดการปัญหาเบื้องต้นได้แล้ว สิ่งที่ต้องมีการดำเนินการต่อมา คือ การมาร่วมพูดคุย เพื่อตั้งเป้าหมาย วางข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อตกลงที่เหมาะสมร่วมกันให้แก่พนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคนรับทราบ และยอมรับร่วมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นซ้ำอีก จนกลายเป็นความเคยชิน ที่ต้องมาแก้ปัญหานี้อยู่ร่ำไป 

ปัญหา ในองค์กร อาจจะมีหลากหลายเรื่องราว ที่เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ตามปัจจัยต่างๆที่มากระทบ สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในองค์กร ผู้บริหาร ผู้นำองค์กร หรือหัวหน้าแผนก จึงต้องเตรียมพร้อมรับมือ รู้จักการสื่อสารเพื่อหยุดยั้งความขัดแย้ง และหาแนวทางที่ทุกคนพร้อมยอมรับและปฏิบัติตาม เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปได้ เพื่อความสุขของทุกคน และความสำเร็จขององค์กร

อ่านเพิ่มเติม: แนะ 5 ก้าวย่าง วางแผนการเงินอย่างไร ให้มั่งคั่ง และยั่งยืน

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment