
ธุรกิจครอบครัวที่เริ่มต้นมาตั้งแต่หลายสิบปีก่อน มักจะเป็นกิจการที่สร้างขึ้นมาจากครอบครัว จนกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ จนมีการปรับเปลี่ยนผู้นำ จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง ผลัดเปลี่ยนกันเป็นทอด ๆ แต่เมื่อถัดจากรุ่นที่ 3 ไป มักจะมีหลายธุรกิจมาถึงทางตัน ด้วยปัญหาต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีแนวทางเตรียมความพร้อมในการรับมือ จนกลายเป็นจุดจบ ที่ต้องเลิกล้มกิจการ หรือขายต่อให้กับนักลงทุนรายอื่นไป อย่างน่าเสียดาย หากไม่ต้องการให้ธุรกิจที่สร้างขึ้นมาจากความตั้งใจของบรรพบุรุษต้องเผชิญกับเหตุการณ์เช่นนั้น มาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า 4 สาเหตุต้นตอที่จะทำให้เกิดปัญหาธุรกิจในครอบครัว
มีอะไรที่ทำให้ธุรกิจครอบครัว ถึงจุดจบ และต้องจัดการอย่างไร มาเริ่มต้นกันเลย
1. ขาดผู้สืบทอด ที่เข้าใจ และสานต่อธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไปได้
ต้องยอมรับว่า ธุรกิจในปัจจุบัน กับเมื่อหลายสิบปีก่อน มีความแตกต่างเปลี่ยนแปลงไปมาก ธุรกิจ ครอบครัว ที่บริหารจัดการโดยใช้พี่น้อง หรือเครือญาติ อาจจะทำได้ในยุคหนึ่ง แต่ในสมัยนี้ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดทั้งในสินค้าประเภทเดียวกันและใกล้เคียงกันที่ทดแทนกันได้ ผู้ที่มีสืบทอดกิจการจึงต้องมีความเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งมีความรู้ ความสามารถ ทักษะการบริการจัดการธุรกิจที่มากพอ ที่จะสามารถนำพากิจการให้อยู่รอดและเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ซึ่งไม่ใช่เลือกด้วยธรรมเนียมเดิม ๆ เช่น ลูกชายคนโตของครอบครัว หรือพี่น้องที่ไว้ใจเพียงเท่านั้น ต้องใช้คนที่มีความเป็นมืออาชีพ มีศักยภาพเพียงพอมาบริหาร
2. เกิดความขัดแย้งในหมู่พี่น้อง คนในครอบครัว
เรื่องทรัพย์สินเงินทอง เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งแย่งชิงกันในครอบครัว ซึ่งมีให้พบเห็นในข่าวสังคมต่าง ๆ อยู่บ่อย ๆ ดังนั้น เมื่อธุรกิจมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ มีสินค้า และบริการที่หลากหลาย จึงจำเป็นต้องมีการวางแผน จัดสรรปันส่วนความรับผิดชอบ แต่งตั้งบุคคลในครอบครัวให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับทักษะ ความรู้ ความสามารถ รวมไปถึงผลประโยชน์ทั้งส่วนกลาง และส่วนบุคคลให้ลงตัว นอกจากนั้นควรมีการวางแผนหากตำแหน่งใด ตำแหน่งหนึ่งขาดหายไป จะมีการสรรหามาทดแทนอย่างไร ใช้เงื่อนไขใดในการพิจารณา
3. ขาดการบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ธุรกิจสั่นคลอนเมื่อเจอวิกฤติ
เพราะในทุกธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง มากน้อยแตกต่างกันไป ในธุรกิจ ครอบครัวก็ไม่ต่างกัน และจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น หากไม่ได้มีมืออาชีพเข้ามาดูแลบริหารจัดการด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพมากพอ ยังใช้ระบบเดิม ๆ เมื่อครั้งอดีตในการดูแล ซึ่งหากเกิดวิกฤติต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิด เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 อาจจะทำให้ธุรกิจสั่นคลอน หรือร้ายแรงจนถึงขั้นปิดกิจการไปได้ สิ่งสำคัญที่ต้องมี ก็คือการบริหารสภาพคล่อง มีเงินสดสำรองรองรับความเสี่ยงอย่างน้อย 1 ปีเป็นอย่างต่ำ
4. ไม่ได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อมเพื่อส่งต่อให้กับรุ่นต่อไปอย่างเป็นระบบ
หลายครั้งที่ผู้บริหารธุรกิจ ครอบครัวรุ่นก่อน ไม่อาจจะวางมือลงได้ เพราะไม่มีทายาทรุ่นต่อไปที่มีความพร้อมมาสานต่อ หรือไม่ได้เตรียมการในการผลักดันให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้งานตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้เมื่อถึงเวลาในการเปลี่ยนผ่าน ส่งต่อจะรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ทำได้ยาก ธุรกิจขาดช่วง ไร้คนดูแล จนอาจจะทำให้คู่แข่งใช้ช่วงเวลานี้แย่งชิงลูกค้า และทำการตลาดแซงหน้าไปได้ ธุรกิจ ครอบครัว จึงควรสรรหาผู้ที่จะสืบทอดกิจการไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 5 – 10 ปี เพื่อปั้นคนที่มีความพร้อมมาดูแล
ธุรกิจ ครอบครัว ที่มีการเรียนรู้ ปรับตัวได้ดี มีการบริหารจัดการทั้งในด้านบุคคล การเงิน ทรัพย์สินอย่างเป็นระบบ ผู้นำมีวิสัยทัศน์ที่จะรักษากิจการไว้ให้มั่นคง เติบโตต่อเนื่อง มีการวางแผนในด้านต่าง ๆ ไม่อย่างครบถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ทั้ง 4 ด้านที่ได้นำมาบอกเล่ากันนี้ไว้เป็นอย่างดี นี่เป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะแสดงให้เห็นว่ากิจการที่สร้างมาด้วยสองมือของบรรพบุรุษจะไม่ตกไปเป็นของคนอื่น จะยังคงเป็นกิจการที่โดดเด่น เชิดหน้าชูตาให้กับตระกูลได้อย่างสมศักดิ์ศรีตลอดไป
อ่านเพิ่มเติม: ทำธุรกิจส่วนตัว