แนะ 5 เคล็ดลับ ดูแลลูกน้องในทีมอย่างไร ให้ได้ใจ และได้งาน

by kanlongthun
ดูแลลูกน้อง

การทำงานในองค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะราชการหรือธุรกิจ ผู้ที่ปฏิบัติงานในระดับหัวหน้างาน หรือผู้จัดการ ซึ่งมีลูกน้องภายใต้บังคับบัญชานั้น การจะสร้างทีมให้เกิดความสามัคคี มีผลงานที่เห็นเป็นรูปธรรม ย่อมต้องมาจากความทุ่มเทและใส่ใจของผู้เป็นหัวหน้า หรือเจ้านาย โดยการดูแลลูกน้องนั้น ถือเป็นทักษะที่จำเป็นต้องมีการฝึกฝน เพื่อรักษาคนในทีมที่มีความรู้ความสามารถ และพัฒนาผู้ที่เข้ามาใหม่ ให้มีทักษะพร้อมที่จะทำงานสนับสนุนการเติบโตของแผนก ซึ่งจะทำอย่างไรให้ได้ใจ และได้งาน

มาเรียนรู้กันดีกว่าว่าเทคนิคเคล็บลับดูแลลูกน้องในทีมที่สามารถนำไปปรับใช้ มีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง 

1. ดูแลเป็นโค้ชให้แบบส่วนตัว ทำให้ดู ดูเขาทำ และแนะนำอย่างเป็นระบบ

สำหรับลูกน้องในทีมที่อาจจะเพิ่งเข้ามาให้ หรือผู้ที่มีความสามารถเข้าตา ที่สามารถพัฒนาให้เติบโตได้ในอนาคต ผู้เป็นหัวหน้างาน หรือผู้จัดการ ควรมีการจัดโปรแกรมโค้ชแบบส่วนตัว เพื่อให้สามารถดูแลด้วยตัวเองได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการสอนงาน ซึ่งเริ่มตั้งแต่การแนะนำภาพรวม สอนโดยการทำให้ดู  และเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้เรียนรู้และลงมือทำด้วยตัวเอง พร้อมทั้งให้คำแนะนำติชมอย่างเป็นระบบเพื่อให้เขาเกิดการพัฒนาทำได้ดียิ่งขึ้น  

2. แสดงความรู้สึก ชมเชย ในสิ่งที่ลูกน้องทำได้ดี อย่างสม่ำเสมอ

หัวหน้าที่ดีต้องรู้จักแสดงความรู้สึกอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการชื่นชมอย่างจริงใจ เมื่อลูกน้องทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายได้ดี โดยควรชมเชยทั้งแบบส่วนบุคคล รวมไปถึงต่อหน้าคนอื่น เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในตัวเองให้แก่ลูกน้อง ทำให้เขายิ่งมีความมุ่งมั่นตั้งใจ พยายามที่จะรักษามาตรฐานการทำงาน และพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ ความสามารถมากขึ้น ทำให้ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งหัวหน้า  

3. ตั้ง KPI ในการประเมินผลงาน อย่างยุติธรรม และประเมินตามความเป็นจริง ไม่มีอคติ

เป็นธรรมดาที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยหัวหน้าควรมีการตั้ง KPI ในการติดตามและวัดผลการทำงานตามรายละเอียดในแต่ละภาระหน้าที่ โดยควรมีการให้คะแนนต่าง ๆ อย่างยุติธรรม ประเมินตามความเป็นจริง ไม่มีอคติใด ๆ แอบแฝง  เพื่อทำให้ลูกน้องมีความเชื่อถือ และไว้วางใจ พร้อมที่จะรับคำแนะนำ ติชม สำหรับการนำไปปรับปรุงพัฒนาในส่วนที่ยังมีความบกพร่อง 

4. สร้างบรรยากาศในการทำงาน มีการจัดกิจกรรมปาร์ตี้ สังสรรค์บ้างตามความเหมาะสม

ความสุข สนุกในการทำงาน เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวหน้างานที่ดี จึงควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศที่เป็นใจต่อการปฏิบัติงาน มีการจัดกิจกรรมงานเลี้ยง ปาร์ตี้ สังสรรค์กันบ้างตามความเหมาะสม ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เพื่อให้ลูกน้องในทีมได้ผ่อนคลาย รู้สึกเป็นกันเอง สนุกสนาน 

5. ไม่นินทาว่าร้ายลูกน้องต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าจะในหรือนอกองค์กร  

การนำเรื่องแย่ ๆ ของลูกน้องมาป่าวประกาศ หรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นคนใน หรือนอกองค์กรถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และไม่ควรทำ เพราะอาจจะเป็นประเด็นที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิด ทำให้ลูกน้องขาดความเชื่อมั่นและไว้วางใจ จนกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ จนสร้างความแตกแยก บาดหมางกันภายในแผนกได้ ทางที่ดี หากมีการทำผิดใด ๆ ควรว่ากล่าวตักเตือนเป็นการส่วนตัวจะดีที่สุด 

เคล็ดลับเทคนิคดี ๆ ที่นำมาแนะนำกันนี้ คงช่วยให้ผู้ที่อาจจะเพิ่งก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน หรือผู้ที่ผ่านการเป็นหัวหน้างานมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ลูกน้องไม่ค่อยเชื่อใจ ให้ความร่วมมือในการทำงานต่าง ๆ ก็สามารถนำแนวทางที่กล่าวมานี้ ไปลองปรับใช้ เพื่อให้สามารถก้าวไปอยู่ในใจของผู้ใต้บังคับบัญชา และสามารถพัฒนาทีมให้เติบโต สร้างผลงานให้แก่องค์กร เพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกัน

อ่านเพิ่มเติม: Adversity Quotient

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment