สรุป 5 ปัญหาคาใจ สร้างแบรนด์สินค้าตัวเองอย่างไร ไม่ให้เจ็บตัว

by kanlongthun
สร้างแบรนด์สินค้าตัวเอง

การทำธุรกิจส่วนตัว เป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะการมีสินค้าที่ตัวเองชื่นชอบและสนใจ ภายใต้แบรนดที่ตัวเองเป็นคนคิดริเริ่มขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทโรงงานที่รับผลิตสินค้าแบบ OEM เป็นจำนวนมาก ทำให้สะดวกต่อการวางแผนผลิตสินค้าด้วยสูตรลับที่ตัวเองคิดค้นขึ้น แต่การจะสร้างแบรนด์สินค้าใหม่ให้เป็นที่รู้จัก สร้างฐานลูกค้าที่มั่นคง และเติบโตจนก้าวไปเป็นแบรนด์ยอดนิยมได้นั้น อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ในยุคที่มีรูปแบบสินค้า คุณภาพใกล้เคียงกันเกิดขึ้นมากมาย ทางที่ดีมาเรียนรู้ให้เข้าใจก่อนดีกว่าว่ามีปัญหา และจัดจัดการอย่างไร สร้างแบรนด์สินค้าตัวเอง ให้ไม่เจ็บตัว 

สร้างแบรนด์สินค้าตัวเอง อย่างไรไปดูกัน

1. โดนก๊อปปี้สินค้า

เป็นเรื่องปกติธรรมดาก็ว่าได้ ที่สินค้าอะไรที่ขายดี มีคนนิยม ย่อมเป็นที่หมายตา และในไม่ช้า ก็จะมีสินค้าแบบเดียวกันออกมาให้เห็นในท้องตลาดรวดเร็วปานจรวด ซึ่งต้องบอกว่าการป้องกันทำได้ยาก วิธีที่จะสร้างความแตกต่างในตัวสินค้าได้ ก็คือ การสร้างแบรนด์ และประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร ให้ผู้บริโภครับรู้และสัมผัสได้ หากสามารถก้าวไปถึงขั้นนั้นได้ การก๊อปปี้สินค้า ก็จะเป็นปัญหาระยะสั้น ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป 

2. กระแสซา ของขายยากขึ้น

สินค้าบางชนิดขายดี เพราะมีกระแสช่วยดัน เป็นแฟชั่นที่ทุกคนต้องมี ต้องใช้ แต่เมื่อไหร่ที่ความนิยมเหล่านี้ถดถอยลงไป สินค้าที่สั่งผลิตไว้เป็นล็อตใหญ่ ๆ เพื่อจะได้ต้นทุนที่ถูกลงก็จะกลายเป็นของค้างสต็อคที่ขายไม่ออก เจ้าของแบรนด์ต้องแบบรับต้นทุน ทั้งค่าผลิต และค่าสต็อคสินค้า รวมไปถึงการดูแลจัดเก็บ ทางที่ดี ก่อนที่จะตัดสินใจสร้างแบรนด์สินค้าใด ควรมีการวิจัยและวางแผนด้านการตลาดที่ดีพอ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าจะสามารถขายได้ในระยะยาว

3. โดนคู่แข่งขายตัดราคา

หนึ่งในกลยุทธ์การแข่งขันที่สินค้าหลาย ๆ ประเภทมักจะเจอเป็นประจำ ก็คือ การตัดราคา ขายถูกกว่าคู่แข่ง สงครามราคาแบบนี้ มีแต่จะทำให้เจ็บตัวด้วยกันทั้งหมด เพราะยิ่งขาดถูก กำไรยิ่งน้อย จนบางครั้งกลายเป็นขาดทุน ไม่นานก็ต้องเลิกกิจการ เพราะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว การหลีกเลี่ยงเข้าไปแข่งขันในสงครามราคา ด้วยการสร้างคุณค่าที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหาร คุณภาพสินค้า หรือการสร้างแบรนด์จะเป็นทางออกเรื่องนี้ได้ 

4. โรงงานผิดนัด สินค้าขาดช่วง

การผลิตสินค้าล็อตใหญ่ๆ จำเป็นต้องสั่งจากโรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ แต่โอกาสที่จะเจอปัญหาสินค้าผลิตไม่ทัน ล่าช้ากว่ากำหนด อาจจะเป็นสิ่งที่เจ้าของแบรนด์อาจจะต้องพบเจอได้ หากโรงงานมีระบบบริหารจัดการการผลิตที่ไม่ดีพอ การบริหารสต็อคสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ มีแผนสำรองล่วงหน้าจะช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ 

5. โดนโจมตีจากคู่แข่งรายอื่น 

สินค้า หรือแบรนด์ไหนที่ขายดี มีลูกค้าชื่นชอบ ก็มักจะมีคู่แข่งโจมตี ด้วยข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ แย่งลูกค้าโดยอาศัยกลยุทธ์ทั้งบนดิน และใต้ดินมาสู้ เจ้าของแบรนด์สินค้า จึงต้องเตรียมรับมือกับเรื่องลบ ๆ ที่จะเกิดขึ้นให้ดี โดยเฉพาะด้านการบริหารชื่อเสียงองค์กร การมีขั้นตอนในการสื่อสารเมื่อเกิดภาวะวิกฤติเพื่อป้องกันไม่ให้ข่าวที่เสียหายลามไปจนยากที่จะแก้ไข และต้องวางกลยุทธ์การตลาดเพื่อปกป้องแบรนด์ตัวเองด้วย 

การสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเอง เป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าลงทุน ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนธุรกิจ และการตลาดมาเป็นอย่างดี ก่อนเริ่มลงมือสั่งผลิตสินค้า รวมทั้งต้องมีแผนรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่นำมาบอกเล่ากันนี้อย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้สร้างผลกระทบต่อธุรกิจ จนซวนเซ พยุงตัวเองไม่ได้ จนต้องเลิกล้มกิจการไปอย่างน่าเสียดาย การวางแผนอย่างรอบด้าน และมีแผนสำรองที่ดี จะเป็นวิธีที่ไม่ทำให้เจ้าของแบรนด์ต้องเจ็บตัว เสียทั้งเงิน และความรู้สึก

อ่านเพิ่มเติม: สรุปมาให้ 5 ทริค เริ่มชีวิตทำงานของเซลล์มือใหม่ ทำไงจะไปได้รุ่ง

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment