ไขข้อสงสัยตัดสินใจอย่างไรให้เฉียบ กับ 5 เทคนิคที่ใช้ดี มีประโยชน์จริง

by kanlongthun
ตัดสินใจอย่างไร

ตัดสินใจอย่างไร: การใช้ชีวิตของคนเราในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือส่วนตัว มักมีเรื่องให้ต้องตัดสินใจวันละหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งมีทั้งเรื่องยากและเรื่องง่ายปะปนกันไป การติดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิตจึงเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนกลัว ไม่กล้าตัดสินใจ จนบางครั้งเวลาล่วงเลย การไม่ตัดสินใจจึงกลายเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดไปในทันที การคิดวางแผน เปรียบเทียบและตัดสินใจอย่างรวดเร็วจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะกับผู้ที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในระดับสูง ซึ่งจะมีเทคนิคไหนที่ช่วยให้การตัดสินใจเฉียบคมบ้าง

มาติดตามได้กับ 5 เทคนิคตัดสินใจอย่างไรที่ใช้ได้ดี และมีประโยชน์จริง มาเรียนรู้แล้วลองนำไปปรับใช้กับชีวิตของแต่ละคนกันได้เลย 

1. เชื่อในความคิดแว็บแรกที่นึกถึง 

สัญชาตญาณแรก หรือความคิดซึ่งเกิดขึ้นในสมองแว็บแรกมักเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์เสมอ หลายครั้งที่เรามักจะใช้เวลาในการหาตัวเลือก เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย พิจารณาอยู่นานสองนาน แต่สุดท้ายก็กลับมาเลือกช้อยส์เดิมที่คิดไว้ตั้งแต่ในตอนต้น จึงมักจะเชื่อได้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เหมาะสม แม้ว่าผลของมันจะเป็นอย่างไรก็ตาม 

2. ตัดตัวเลือกที่ไม่แน่ใจออกไปก่อน

เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการตัดสินใจในเรื่องที่ต้องเร่งรีบ หนึ่งในวิธีที่ใช้ได้ผลมาก ๆ ก็คือ การตัดตัวเลือกที่ไม่แน่ใจออกไปก่อน เพื่อให้เหลือช้อยส์น้อย ๆ แล้วจึงใช้เวลาในการคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อมองหาจุดดี จุดด้อย และผลที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากที่ตัดสินใจเลือกในสิ่งนั้น ๆ ไป ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการเลือกมากยิ่งขึ้น เพราะยิ่งมีตัวเลือกมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เกิดความสับสน และตัดสินใจที่ผิดพลาดมากขึ้นเท่านั้น 

3. ฝึกมองถึงผลกระทบข้างหน้า หลังจากที่ตัดสินใจสิ่งนั้นไปแล้ว 

เพราะทุก ๆ การตัดสินใจเลือก ย่อมเกิดผลลัพธ์จากสิ่งเหล่านั้นที่แตกต่างกันออกไป การลองจินตนาการไปล่วงหน้าเพื่อคาดการณ์ว่าหลังจากที่ตัดสินใจทำ หรือเลือกสิ่งนั้นไป จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างไรต่อชีวิตตัวเอง คนรอบข้าง เพื่อร่วมงาน หรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ บ้าง เพื่อให้สามารถประเมินได้ว่าการตัดสินใจนั้นดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควรที่จะเลือกวิธีการ หรือตัดสินใจทำในสิ่งนั้น ๆ ลงไป 

4. วางกรอบเวลาหรือ Deadline ที่ต้องตัดสินใจ 

การทราบช่วงเวลาที่แน่นอนที่จะต้องตัดสินใจ จะทำให้เราสามารถประเมินได้ถูกต้องว่าควรจะทำอะไรในช่วงไหน มีเวลาในการคิดพิจารณา หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบ ทำให้เกิดความแน่ใจว่าหากตัดสินใจไปแล้วจะไม่มาเสียดาย หรือรู้สึกผิดในภายหลัง หากมีเวลาจำกัด ก็สามารถวางแผนตัดทอนขั้นตอนต่าง ๆ ให้กระชัดรัดกุม และตัดสินใจได้อย่างรอบคอบมากขึ้น 

5. วางแผนสำรอง เพื่อรองรับผลที่เกิดขึ้นไว้เสมอ 

ในการตัดสินใจเลือกบางอย่างไป ย่อมเกิดผลบางอย่างเกิดขึ้นเสมอ ซึ่งหากเป็นไปในทิศทางที่ดี ก็ย่อมเกิดความสบายใจ แต่หากเป็นไปในแง่ลบ การวางแผนสำรอง เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์หรือความไม่สบายใจต่าง  ๆ ลงไปได้บ้าง แม้ว่าเราจะไม่สามารถย้อนกลับไปตัดสินใจกับเรื่องเดิม ๆ นั้นได้ใหม่ แต่ก็ยังมีแรงและกำลังใจ นับความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นมาเป็นบทเรียนสอนใจ เพื่อไม่ให้ตัดสินใจผิดพลาดซ้ำอีก 

เทคนิคเหล่านี้คงช่วยคลายข้อสงสัยว่าจะมีแนวทางในการตัดสินใจต่อสิ่งสำคัญต่าง ๆ ที่ต้องเลือก ต้องพิจารณาอย่างไร ให้มีความเหมาะสม ถูกต้อง และเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ ไม่กระทบต่อชีวิตตัวเอง และสร้างความเดือดร้อนรุนแรงแก่ผู้อื่น ซึ่งช่วยให้ทุก ๆ การตัดสินใจแม้จะต้องเผชิญกับความหนักใจ ก็สามารถตัดสินใจได้อย่างเฉียบคม ช่วยบรรเทาความเครียด และความไม่สบายใจ ทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

อ่านเพิ่มเติม: การลงทุน

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment