
ในการทำงานต่าง ไม่ว่าจะอยู่ในหน่วยงานรัฐ หรือบริษัทเอกชน มักจะเป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน ในการดำเนินการสิ่งต่าง ๆ ให้ ซึ่งหากเข้าไปโดยไม่ดูกาละเทศะ หรือขอช่วยผิดคน ก็อาจจะทำให้เกิดความลำบากใจ สร้างปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้ การดำเนินการสิ่งเหล่านี้ จึงต้องอาศัยทักษะในการบริหารจัดการ เพื่อให้ได้งาน และยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน โดยไม่ผิดใจกัน พนักงานทุกคนจึงควรได้เรียนรู้
ลองนำ 5 วิธีเหล่านี้ไปลองปรับใช้ เพื่อที่จะทำให้ทุกครั้งที่ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เป็นสิ่งที่เขาเต็มใจ และทำให้เราได้งานที่ต้องการ
1. ลองวิเคราะห์ว่างานที่จะขอ ความช่วยเหลือ สำคัญและเร่งด่วนแค่ไหน
สิ่งสำคัญก่อนที่เราจะไปออกปากขอ ความช่วยเหลือจากใคร ตัวเราเองจำเป็นต้องวิเคราะห์ก่อนเสมอว่า งานชิ้นนั้นมีความสำคัญ หมายถึงมีคุณค่ามากน้อยขนาดไหนต่อตัวคุณเอง เพื่อนที่ไปขอ ความช่วยเหลือ รวมไปถึงองค์กร รวมทั้งมีความเร่งด่วนขนาดไหน จำเป็นต้องรีบจัดการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาใด เพื่อจะได้สื่อสารกับผู้ที่ต้องการไปขอ ความช่วยเหลือให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน
2. ขอ ความช่วยเหลือให้ถูกคน
การเลือกคนที่จะไปขอ ความช่วยเหลือ ก็มีความสำคัญไม่น้อย เพราะบางงานอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นความรับผิดชอบของเขาโดยตรง และเขาอาจจะไม่ได้มีทักษะด้านนั้น ๆ ทางที่ดีควรดูให้เหมาะสมว่า งานที่ต้องการจะให้ดำเนินการนั้น ควรไปขอ ความช่วยเหลือจากใครจึงจะสอดคล้องต่อภาระหน้าที่ หรือเป็นสิ่งที่คน ๆ นั้นมีทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ที่สามารถพึ่งพาได้
3. ลดภาระด้านเวลา ด้วยการทำในสิ่งที่ตัวเองทำได้ก่อน
งานบางอย่างอาจจะจำเป็นต้องใช้เวลาในการดำเนินการค่อนข้างมาก ดังนั้น ก่อนที่จะไปขอ ความช่วยเหลือ ควรสำรวจก่อนว่า มีส่วนใดที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองก่อนบ้าง หรือการเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก ข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดเวลา ในภาระของเขาให้สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ภายในระยะเวลาที่สั้นลง
4. เช็คก่อนเสมอว่าเขากำลังงานยุ่งไหม
อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ ที่ควรทำก่อนเสมอ เมื่อต้องการขอ ความช่วยเหลือใคร ก็คือ ต้องเช็คก่อนเสมอว่า บุคคลนั้นกำลังทำงานยุ่งอยู่หรือไม่ พอจะปลีกเวลามาช่วยเหลือดำเนินการในสิ่งที่เราร้องขอได้เหลือไหม หรือพอจะจัดสรรเวลาอื่น ๆ ในช่วงใด ที่จะสามารถจัดการให้ได้บ้าง ซึ่งหากรีบร้อนของให้ทำให้ ก็อาจจะเป็นการบังคับ หรือสร้างความหนักใจ หากเขาก็ต้องเร่งทำงานในความรับผิดชอบของตัวเองเช่นเดียวกัน
5. แจ้งผู้ที่จะขอ ความช่วยเหลือล่วงหน้า เพื่อเขาจะได้จัดสรรเวลาได้
สิ่งที่จะช่วยลดการรบกวนลงไปได้ ก็คือ การแจ้งหรือเกริ่นกับผู้ที่ต้องการขอ ความช่วยเหลือไว้ล่วงหน้า ถึงสิ่งที่ต้องการให้ช่วยดำเนินการ ระยะเวลาที่อยากให้แล้วเสร็จ รวมไปถึงความต้องการที่คาดว่าเขาจะสามารถดำเนินการให้ได้ ซึ่งการแจ้งเขาล่วงหน้า จะทำให้เขาสามารถมีเวลาในการวางแผน หรือจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานนั้น ๆ ได้ หรือแจ้งให้เราช่วยเตรียมมาให้ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความลำบากต่อกันทั้งคู่
เทคนิคเหล่านี้ คงช่วยให้พนักงานที่ต้องมีการพึ่งพาอาศัยเพื่อนร่วมงาน ในการดำเนินการสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่เสมอสามารถนำไปลองปรับใช้ ช่วยลดความลำบากใจ การรบกวน ทำให้บุคคลเหล่านั้นรู้สึกดี และเต็มใจที่จะช่วยเหลือ โดยที่ไม่สร้างความรำคาญ จนเกิดเป็นปัญหา เสียความรู้สึกซึ่งกันและกัน การทำงานร่วมกันนั้นก็จะราบลื่น และได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ
อ่านเพิ่มเติม: กลุ่ม เป้าหมาย