5 เงื่อนไข ทำอย่างไรให้กู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจผ่านฉลุย แม้ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน

by kanlongthun
กู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ

การทำให้ธุรกิจที่กำลังเติบโต ขยายตัวได้ดียิ่งขึ้น จำเป็นต้องมีการเติมเงินลงทุนเพิ่ม เพื่อนำไปใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจ้างแรงงาน ลงทุนซื้ออุปกรณ์ เครื่องจักร เป็นเงินสำรองเพื่อเสริมสภาพคล่อง รวมไปถึงการบริหารจัดการหนี้สินต่าง ๆ ซึ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ถึงกลาง หรือ SMEs โอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่อาจจะมีน้อย การกู้เงินผ่านทางสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่พร้อมปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจรายย่อย กู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ จึงเป็นอีกหนึ่งทางออก สำหรับการพัฒนาธุรกิจ โดยหากไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ ผู้ประกอบการหลายคน ก็คงกังวลใจว่าจะไม่ได้รับการอนุมัติวงเงิน ซึ่งทางออกของปัญหานี้อยู่ที่ไหน

มาสร้างความเข้าใจ การกู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจและลองนำไปปรับใช้กับธุรกิจคุณ 

1. สร้างความน่าเชื่อถือ ด้วยการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลถูกต้องตามกฏหมาย

การกู้เงินในจำนวนมาก สิ่งที่จะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าผู้กู้มีความน่าเชื่อถือมากเพียงพอ ที่จะทำให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ไว้วางใจ อนุมัติสินเชื่อเพื่อนำมาใช้ในการลงทุนธุรกิจเพิ่มเติม ก็คือ การจดทะเบียนการค้า ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ถูกต้องตามกฏหมาย มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และดำเนินการธุรกิจที่จดแจ้งอย่างเป็นรูปธรรมและจริงจัง เพื่อเป็นเครื่องยืนยันแก่ผู้ปล่อยกู้ว่า จะสามารถหาเงินมาชำระหนี้ที่กู้ยืมมาได้อย่างต่อเนื่อง

2. เก็บหลักฐานรายรับ / รายจ่าย ทำบัญชีอย่างเป็นระบบตรวจสอบได้

ในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือในนามบุคคล ก็จำเป็นจะต้องมีการบันทึกหลักฐานรายรับ รายจ่าย จัดทำบัญชีธุรกิจอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่าย การบริหารสินค้าคงคลัง หนี้สิน ทรัพย์สิน ฯลฯ เพื่อเป็นหลักฐานในการประกอบการพิจารณา และเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจมีการบริหารจัดการด้านการเงินอย่างเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ และมีรายได้เข้ามาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ 

3. มี Statement บัญชีเงินเข้าสม่ำเสมอ 

เงินที่ไหลผ่านบัญชี หรือที่ทั่วไปเรียกกันว่า Statement เป็นข้อมูลชั้นดีที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ โดยผู้ประกอบการ ควรมีการเดินบัญชีอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการนำรายรับเข้าสู่บัญชีในระยะเวลาที่สม่ำเสมอ เป็นประจำ มีความต่อเนื่อง มียอดเงินไหลเข้าตลอด โดยไม่ควรถอนเงินยอดเยอะ ๆ ติด ๆ กัน ซึ่งจะทำให้ตัวเลขที่แสดงผลบนสมุดบัญชี ขาดความน่าเชื่อถือ จนเป็นเหตุให้ไม่ผ่านการอนุมัติได้ 

4. ไม่ผิดชำระหนี้ ไม่มีประวัติด่างพล้อย

เครดิตในการชำระหนี้ ที่กู้ยืมมาเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นหนี้รูปแบบใด ผู้ประกอบการควรมีการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีการผิดนัดชำระ ที่เป็นเครื่องบ่งชี้ได้ว่า อาจจะเกิดการเบี้ยวหนี้ หรือการทำให้เห็นความเสี่ยงที่จะกลายเป็นหนี้เสีย โดยเฉพาะหนี้ที่จะแสดงผลในเครดิตบูโร ซึ่งหากโดยขึ้นบัญชีดำ ก็จะทำให้มีโอกาสที่จะกู้ยืมได้ยาก 

5. เลือกประเภทสินเชื่อ ที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจ และสอดคล้องกับเงื่อนไขที่เป็นไปได้

สิ่งสุดท้ายที่ผู้ประกอบควรมีการวางแผนก่อนที่จะกู้ ก็คือ เป้าหมายในการนำเงินไปใช้ ต้องใช้จำนวนเท่าไหร่ และมีศัยภาพเพียงพอที่จะสามารถชำระหนี้ทั้งเงินต้น และได้ดอกเบี้ยได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอหรือไม่  โดยใช้ปัจจัยด้านรายได้ ฐานลูกค้า และโอกาสหลังจากที่ได้เงินมาต่อยอด จะสร้างยอดขายได้เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ และในกรณีที่เกิดความผิดพลาดจะมีแผนสำรองอย่างไร โดยควรกู้เท่าที่จำเป็น และไม่เกินความสามารถของตัวเองที่จะบริหารจัดการหนี้สินนี้ได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤติต่าง ๆ กับธุรกิจ 

การไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ หากธุรกิจมีการวางแผน และนำคำแนะนำที่นำมาบอกเล่ากันนี้ นำไปปรับใช้ เพื่อวางแผนและเตรียมความพร้อมต่าง ๆ อย่างรอบด้าน แน่นอนว่าการยื่นขอสินเชื่อเพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาธุรกิจ จะผ่านการอนุมัติ โดยไม่ต้องดิ้นรนให้วุ่นวาย ทำให้นักธุรกิจสามารถโฟกัสกับการสร้างสรรค์ไอเดีย เพื่อปั้นให้ธุรกิจเติบโตก้าวไกลได้ดังหวัง

อ่านเพิ่มเติม: การตอบแชทลูกค้า

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment