แนะ 4 วิธี จัดการวางแผนมรดก เพื่อหมดกังวลยามต้องจากไป 

by kanlongthun
วางแผนมรดก

เพราะไม่มีใครสามารถล่วงรู้ได้ว่า จะต้องจากโลกใบนี้ไปในช่วงเวลาใดของชีวิต เพื่อให้ทรัพย์สินที่ตัวเองมี ได้รับการส่งต่อไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง และได้รับการจัดสรรอย่างยุติธรรม การทำพินัยกรรม จึงเป็นอีกเรื่องที่แต่ละคนไม่ว่าจะอายุมาก หรืออายุน้อย ไม่ควรละเลย เพราะหากไม่ได้ดำเนินการไว้ให้เรียบร้อย แต่หมดลมหายใจไปซะก่อน ก็อาจจะสร้างปัญหาตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแย่งชิงทรัพย์สินในหมู่พี่น้อง หรือญาติมิตร ต้องจ้างทนายมาฟ้องร้องแบ่งปันมรดก แต่งตั้งผู้จัดการมรดก ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การวางแผนมรดกและจัดการที่ดี ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยควรทำความเข้าใจ และต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

มาติดตามวิธีจัดการวางแผนมรดก กันเลย 

1. ทำเช็คลิสต์ทรัพย์สินที่ถือครอง ก่อนจะจัดสรรอย่างลงตัว

ทรัพย์สินที่กระจัดกระจายอยู่ในหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน เงินสด หุ้น กองทุน บัญชีเงินฝาก ทองคำ ฯลฯ คนอื่น ๆ ในครอบครัว อาจจะไม่มีใครรู้ ว่ามีอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ และเก็บไว้อยู่ที่ไหนบ้าง ซึ่งการทำบัญชีทรัพย์สินเหล่านี้อย่างเป็นระบบ มีการรวบรวมข้อมูลไว้อย่างละเอียด ก็จะสามารถนำมาจัดสรรแบ่งปันแก่ทายาทได้ง่ายขึ้น ว่าส่วนใด จำนวนเท่าไหร่ เพื่อมอบให้แก่ใคร

2. เรียนรู้ทำความเข้าใจกับกฏหมายภาษี ทำให้ถูกต้อง

การจัดการมรดกให้ถูกต้องสอดคล้องตามที่กฏหมายระบุ เป็นอีกสิ่งที่ไม่คำนึงถึงไม่ได้ เพราะหากมีการตรวจสอบขึ้นมา จะต้องจ่ายค่าปรับย้อนหลัง คงไม่ดีแน่ โดยภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกนั้นได้ระบุให้ หลักทรัพย์ตามกฏหมาย อสังหาริมทรัพย์ ยานพาหนะ เงินฝาก และทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ ต้องชำระภาษี โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย ภาษีการรับ และการให้มรดก ซึ่งจะมีเงื่อนไขกำหนดทั้งจำนวนยอดทรัพย์สิน และอัตราภาษีที่ต้องจ่าย รวมไปถึงบุคคลที่ต้องมีหน้าที่ชำระภาษีเป็นรายปี 

3. ศึกษาการทำพินัยกรรม บริหารมรดกแก่ทุกคนอย่างยุติธรรม

การจัดสรรทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่าง ๆ โดยระบุไว้ในพินัยกรรมนั้น ควรมาทำความเข้าใจกันให้ชัดว่า ผู้รับมรดก เป็นใครได้บ้าง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ ทายาทโดยชอบธรรม ซึ่งหมายถึง ผู้สืบสันดาน หรือลูก พ่อแม่ พี่น้องร่วมบิดามารดา พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา ปู่ย่า ตายาย ลุงป้าน้าอา ตามลำดับ ส่วนอีกประเภทเป็น บุคคลผู้ได้รับพินัยกรรม ซึ่งอาจจะเป็นทายาทหรือไม่เป็นก็ได้ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินต้องระบุในพินัยกรรมไว้อย่างชัดเจนว่า จะมอบทรัพย์สินส่วนใด จำนวนเท่าไหร่ให้แก่ใคร 

4. ทยอยส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับมรดกเพื่อรับสิทธิประโยชน์ตามกฏหมาย

สำหรับผู้ที่มีทรัพย์สินมากกว่า 10 ล้าน หรือ 100 ล้าน ขึ้นไป การทยอยส่งมอบทรัพย์สินทีละนิดไปเรื่อย ๆ ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสียภาษีได้ เนื่องจากไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องชำระ ซึ่งควรมีการวางแผนให้รอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในระหว่างการดำเนินการ โดยเฉพาะการโอนทรัพย์สินที่ส่งมอบได้ยาก ซึ่งควรมีการปรึกษาทนาย หรือผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญก่อนจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า 

เพราะทุกคนมีความเสี่ยง ที่จะเกิดเหตุไม่คาดคิดกับชีวิตตัวเองได้ การวางแผนจัดทำพินัยกรรม รายละเอียดทรัพย์สิน จัดสรรอย่างลงตัว แม้จะต้องจากไป ณ เวลาใด ที่ไม่อาจจะมีใครล่วงรู้ ก็สามารถมั่นใจได้ว่า ผู้ที่อยู่ข้างหลัง จะยังสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ยังมีทรัพย์สินที่สามารถนำไปใช้จ่าย ลงทุนสร้างกิจการ หรือใช้เพื่อเป้าหมายอื่น ๆ แล้วแต่เป้าหมายของแต่ละคน

อ่านเพิ่มเติม: กู้ซื้อคอนโด

เรื่องที่คล้ายกัน

Leave a Comment